Honda civic
ฮอนด้า ซีวิค (Honda CIVIC) รถยนต์ที่ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทฮอนด้า ซีวิคเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2516 เป็นรถสองประตูขนาดเล็ก โดยมีความจุเครื่องยนต์ 1,169 ซีซี และ 1,238 ซีซี โดยในปัจจุบันมีการปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งเครื่องยนต์และความกว้างในห้องผู้โดยสาร (ซีวิครุ่นปัจจุบันที่มีขายในเมืองไทยเป็นเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตร และ 1.5 ลิตร เทอร์โบ) นอกจากนี้ซีวิคได้ถูกจัดเป็นรถคุณภาพค่อนข้างดีเนื่องจาก ลักษณะรูปร่างภายนอกและความเชื่อถือได้ของระบบเครื่องยนต์และช่วงล่างพอสมควร
รุ่นที่ 1 (SB1/SG/SH/SE/VB; พ.ศ. 2516–2522)โฉมนี้ ผลิตมาทั้งสิ้นถึง 7 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2522 รุ่นบุกเบิกมีแรงม้าเพียง 50 แรงม้า และมีความยาว 139.8 นิ้ว หรือ 3.55 เมตร แต่ได้ค่อยๆ พัฒนาขึ้น โดยรุ่นสุดท้ายของโฉมนี้มีแรงม้า 60 แรงม้า และยาว 146.9 นิ้ว หรือ 3.73 เมตร
โฉมนี้ เป็นรุ่นที่อยู่ในยุคที่ระบบเกียร์ยังไม่เน้นการประหยัดน้ำมัน และเทคโนโลยีด้านรถยนต์ยังใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่ประหยัดเท่าใดนัก รถโฉมนี้ที่ออกวางจำหน่ายในขณะนั้น จะมีระบบเกียร์อยู่ 3 แบบให้เลือกซื้อ คือ เกียร์อัตโนมัติ 2 สปีด, เกียร์ธรรมดา 4 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด แต่จะผลิตเกียร์ธรรมดา 4 สปีด เป็นมาตรฐาน เพราะเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ยังมีราคาสูง ส่วนเกียร์อัตโนมัติจะกินน้ำมันมาก ทำให้ไม่เป็นที่นิยม
รุ่นที่ 2 (SL/SS/SR/ST/VC/WD; พ.ศ. 2523–2526)
โฉมนี้ ผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526 โดยทั้ง 4 รุ่นปี มีความยาวคงที่คือ 146.9 นิ้ว หรือ 3.73 เมตร แรงม้า 55 กับ 67 แรงม้า แล้วแต่รุ่นเครื่องยนต์ คือขนาด 1.3 กับ 1.5 ลิตร ตามลำดับ
โฉมนี้ มีตัวถัง 4 แบบ คือ Hatchback 3 ประตู (SL), ซีดาน 4 ประตู (SS), Hatchback 5 ประตู (SR) และ Station Wagon 5 ประตู (ST) (ซีวิครุ่นนี้ขายในบางประเทศในชื่อ ฮอนด้า บอลเลด (Honda Ballade) ซึ่งต่อมา บอลเลด ก็ได้แยกตัวเป็นรุ่นอิสระไป)
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ให้เลือกซื้อ 4 ระบบ คือ เกียร์อัตโนมัติ 2 กับ 3 สปีด และเกียร์ธรรมดา 4 กับ 5 สปีด (เกียร์อัตโนมัติถูกพัฒนาขึ้นจากเดิม)
แต่โฉมนี้ ก็เป็นโฉมสุดท้ายที่ซิวิคผลิตรถเกียร์อัตโนมัติแบบ 2 ระดับเกียร์ขาย และโฉมถัดจากนี้ไปจะไม่มีอีก
รุ่นที่ 3 (AG/AH/AJ/AK/AT/AU; พ.ศ. 2527–2530)
โฉมนี้ ผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2530 โดยทั้ง 4 รุ่นปี มีความยาว 150 นิ้ว หรือ 3.81 เมตร สูง 1.35 เมตร กว้าง 1.62 เมตร เป็นโฉมแรกที่มีการทำตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ซีวิค 2 รุ่นก่อนหน้านั้นเคยนำมาจำหน่าย แต่เป็นการจำหน่ายโดยเอเชี่ยน ฮอนด้า โดยนำเข้ามาเพียงไม่กี่คัน) โดยบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัดเมื่อปี พ.ศ. 2527 ในยุคที่ฮอนด้ายังเพิ่งเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และเป็น Civic รุ่นแรกที่ประกอบในประเทศโดยโรงงานบางชัน เจเนอรัล แอสเซมบลี จังหวัด กรุงเทพมหานคร ในเครือพระนครยนตรการ ผู้จำหน่ายรถยนต์โอเปิล โฮลเด้น และไดฮัทสุในขณะนั้น
มีตัวถัง 4 แบบ คือ Hatchback 3 ประตู (AG-AH/AT), ซีดาน 4 ประตู (AJ-AK/AU/SB4), คูเป้ 3 ประตู และ Station Wagon 5 ประตู (AJ-AK/AR) มีเครื่องยนต์ขนาดเดียว คือ 1.5 ลิตร
มี 3 ระบบเกียร์ คือเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด (ไม่มีระบบเกียร์ธรรมดา 4 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ 2 สปีด)และโฉมนี้เป็นโฉมสุดท้ายที่มีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ แบบ 3 สปีด
รุ่นที่ 4 (EC/ED/EE/EF/EX; พ.ศ. 2531–2534)
โฉมนี้ ผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 โฉมนี้ มีการผลิตตัวถัง 4 รูปแบบ คือ Hatchback 3 ประตู (EC) , ซีดาน 4 ประตู (EF) , คูเป้ 3 ประตู (ED) และ Station Wagon 5 ประตู (EE)
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ให้เลือกถึง 4 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด, เกียร์ธรรมดา 4 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด เครื่องยนต์ 4 ขนาด คือ 1.3, 1.4, 1.5 และ 1.6 ลิตร
โฉมนี้ พ่อค้ารถในไทยนิยมเรียกว่า "โฉมไฟท้าย 2 ชั้น" หรือ "โฉม EF" เป็นโฉมสุดท้ายที่มีการผลิตเกียร์ธรรมดา 4 สปีด
นับเป็นโฉมที่มีความหลากหลาย และเครื่องยนต์ที่ทนทาน ปัจจุบันนี้ ก็ยังสามารถเห็นรถซีวิคโฉมไฟท้าย 2 ชั้นนี้ บนท้องถนนได้ แม้จะเลิกผลิตไปมากกว่า 20 ปีแล้ว และเป็น Civic รุ่นเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศ แต่เป็นรุ่นที่ยังพบเห็นได้มากกว่ารุ่นที่ 3 ที่มีภาพยนตร์โฆษณาซะอีก
รุ่นที่ 5 (EG/EH/EJ; พ.ศ. 2535–2538)
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ให้เลือกถึง 4 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด, เกียร์ธรรมดา 4 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด เครื่องยนต์ 4 ขนาด คือ 1.3, 1.4, 1.5 และ 1.6 ลิตร
โฉมนี้ พ่อค้ารถในไทยนิยมเรียกว่า "โฉมไฟท้าย 2 ชั้น" หรือ "โฉม EF" เป็นโฉมสุดท้ายที่มีการผลิตเกียร์ธรรมดา 4 สปีด
นับเป็นโฉมที่มีความหลากหลาย และเครื่องยนต์ที่ทนทาน ปัจจุบันนี้ ก็ยังสามารถเห็นรถซีวิคโฉมไฟท้าย 2 ชั้นนี้ บนท้องถนนได้ แม้จะเลิกผลิตไปมากกว่า 20 ปีแล้ว และเป็น Civic รุ่นเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศ แต่เป็นรุ่นที่ยังพบเห็นได้มากกว่ารุ่นที่ 3 ที่มีภาพยนตร์โฆษณาซะอีก
รุ่นที่ 5 (EG/EH/EJ; พ.ศ. 2535–2538)
โฉมนี้ มีการผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538 มีตัวถัง 3 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู (EJ1/2), Hatchback 3 ประตู (EG3/6, EH2/3) และแบบซีดาน 4 ประตู (EG8/9, EH9)
มีระบบเกียร์ 2 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด คือ 1.3, 1.5, 1.6 และ 1.8 ลิตร พ่อค้ารถในไทย นิยมเรียกโฉมนี้ว่า "โฉมเตารีด" และ "โฉมสามดอร์" ในแบบตัวถังสามประตู
โฉมนี้ เป็นโฉมที่รูปลักษณ์ภายนอกของซีวิคเริ่มเปลี่ยนไป เพราะ 4 โฉมแรก ภายนอกจะมีลักษณะตรง แล้วหักเป็นมุมๆ ทำให้มีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ แต่โฉมนี้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นความโค้งมน และโฉมจากนี้ จะเพิ่มความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงโฉมล่าสุด ที่มีความโค้งมนมาก
ในประเทศไทย นอกจากการขายตัวถังแบบ 4 ประตูแล้ว ยังมีการขายตัวถังแบบ 3 ประตูด้วย โดยรุ่นซีดานนำมาจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2535 ส่วนรุ่น 3 ประตูนำมาจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นซีวิคโฉมแรกในประเทศไทยที่มีการนำรุ่น 3 ประตูมาจำหน่าย
นอกจากนี้ ในประเทศไทย ช่วงกลางๆ ของโฉมนี้ ซีวิคเริ่มเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีด แทนระบบคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งสังเกตได้จากอักษรทริมที่อยู่ท้ายรถ จะมีตัวไอเล็กภาษาอังกฤษ ต่อท้าย (เป็นทริมแบบ LXi, EXi, ฯลฯ) แต่ถ้าไม่มี i ต่อท้าย (LX, EX, ฯลฯ) แปลว่า ซีวิคคันนั้นยังใช้เครื่องคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งรถที่ใช้ระบบหัวฉีด จะใช้เชื้อเพลิงคุ้มค่า และนอกจากนี้ เครื่องหัวฉีด สามารถเติมน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ (แก๊สโซฮอล์ E10) ได้ ซึ่งยิ่งช่วยผู้ใช้ประหยัดมากขึ้นไปอีก ในขณะที่เครื่องแบบคาร์บูเรเตอร์ ไม่เหมาะสมที่จะใช้แก๊สโซฮอล์
รุ่นที่ 6 (EJ/EK/EM; พ.ศ. 2539–2543)
มีระบบเกียร์ 2 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด คือ 1.3, 1.5, 1.6 และ 1.8 ลิตร พ่อค้ารถในไทย นิยมเรียกโฉมนี้ว่า "โฉมเตารีด" และ "โฉมสามดอร์" ในแบบตัวถังสามประตู
โฉมนี้ เป็นโฉมที่รูปลักษณ์ภายนอกของซีวิคเริ่มเปลี่ยนไป เพราะ 4 โฉมแรก ภายนอกจะมีลักษณะตรง แล้วหักเป็นมุมๆ ทำให้มีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ แต่โฉมนี้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นความโค้งมน และโฉมจากนี้ จะเพิ่มความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงโฉมล่าสุด ที่มีความโค้งมนมาก
ในประเทศไทย นอกจากการขายตัวถังแบบ 4 ประตูแล้ว ยังมีการขายตัวถังแบบ 3 ประตูด้วย โดยรุ่นซีดานนำมาจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2535 ส่วนรุ่น 3 ประตูนำมาจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นซีวิคโฉมแรกในประเทศไทยที่มีการนำรุ่น 3 ประตูมาจำหน่าย
นอกจากนี้ ในประเทศไทย ช่วงกลางๆ ของโฉมนี้ ซีวิคเริ่มเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีด แทนระบบคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งสังเกตได้จากอักษรทริมที่อยู่ท้ายรถ จะมีตัวไอเล็กภาษาอังกฤษ ต่อท้าย (เป็นทริมแบบ LXi, EXi, ฯลฯ) แต่ถ้าไม่มี i ต่อท้าย (LX, EX, ฯลฯ) แปลว่า ซีวิคคันนั้นยังใช้เครื่องคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งรถที่ใช้ระบบหัวฉีด จะใช้เชื้อเพลิงคุ้มค่า และนอกจากนี้ เครื่องหัวฉีด สามารถเติมน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ (แก๊สโซฮอล์ E10) ได้ ซึ่งยิ่งช่วยผู้ใช้ประหยัดมากขึ้นไปอีก ในขณะที่เครื่องแบบคาร์บูเรเตอร์ ไม่เหมาะสมที่จะใช้แก๊สโซฮอล์
รุ่นที่ 6 (EJ/EK/EM; พ.ศ. 2539–2543)
โฉมนี้ มีการผลิตมาทั้งสิ้น 5 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543
โฉมนี้ มีตัวถัง 5 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู (EJ6/7/8/EM1), Hatchback 3 ประตู (EJ6/EK1/2/3/4/9), ซีดาน 4 ประตู (EJ6/8/9), Hatchback 5 ประตู (พื้นฐานของโดมานี, MA/MB/MC) และ Station Wagon 4 ประตู (Orthia / Aerodeck - พื้นฐานของโดมานี) โดยในประเทศไทยมีจำหน่ายรุ่นซีดาน 4 ประตู และคูเป้ 2 ประตู มีขนาดเครื่องยนต์ 3 ขนาด คือ 1.3, 1.4, 1.5 และ 1.6 ลิตร และฮอนด้ายังผลิตให้กับอีซูซุเฉพาะในไทยเท่านั้นในชื่อ อีซูซุ เวอร์เท็กซ์ (อังกฤษ: Isuzu Vertex) โดยนำรุ่นหรูในชื่อ Integra SJ มาเปลี่ยนตรา Isuzu ขายในปี พ.ศ. 2539 ก่อนจะเลิกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2542 ก่อนจะหมดเกลี้ยง ถึงจะขายไม่ดีนัก แต่ยังพบเห็นได้มากกว่า Honda Tourmaster ที่ Isuzu ผลิตให้ Honda และ Opel Campo ที่ Isuzu ผลิตให้ GM Thailand และเป็นการกลับมาของรถยนต์นั่ง Isuzu ในประเทศไทยในรอบ 8 ปี ตั้งแต่เลิกจำหน่ายอีซูซุ อาสก้าเมื่อปี พ.ศ. 2531
รุ่นที่ 7 (EU/ES/EP/EM; ค.ศ. 2000–2006)
โฉมนี้ มีตัวถัง 5 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู (EJ6/7/8/EM1), Hatchback 3 ประตู (EJ6/EK1/2/3/4/9), ซีดาน 4 ประตู (EJ6/8/9), Hatchback 5 ประตู (พื้นฐานของโดมานี, MA/MB/MC) และ Station Wagon 4 ประตู (Orthia / Aerodeck - พื้นฐานของโดมานี) โดยในประเทศไทยมีจำหน่ายรุ่นซีดาน 4 ประตู และคูเป้ 2 ประตู มีขนาดเครื่องยนต์ 3 ขนาด คือ 1.3, 1.4, 1.5 และ 1.6 ลิตร และฮอนด้ายังผลิตให้กับอีซูซุเฉพาะในไทยเท่านั้นในชื่อ อีซูซุ เวอร์เท็กซ์ (อังกฤษ: Isuzu Vertex) โดยนำรุ่นหรูในชื่อ Integra SJ มาเปลี่ยนตรา Isuzu ขายในปี พ.ศ. 2539 ก่อนจะเลิกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2542 ก่อนจะหมดเกลี้ยง ถึงจะขายไม่ดีนัก แต่ยังพบเห็นได้มากกว่า Honda Tourmaster ที่ Isuzu ผลิตให้ Honda และ Opel Campo ที่ Isuzu ผลิตให้ GM Thailand และเป็นการกลับมาของรถยนต์นั่ง Isuzu ในประเทศไทยในรอบ 8 ปี ตั้งแต่เลิกจำหน่ายอีซูซุ อาสก้าเมื่อปี พ.ศ. 2531
รุ่นที่ 7 (EU/ES/EP/EM; ค.ศ. 2000–2006)
โฉมนี้ มีการผลิตมาทั้งสิ้น 5 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี ค.ศ. 2000 - ค.ศ. 2006 โฉมนี้ มีตัวถัง 4 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู (EM, เฉพาะอเมริกาเหนือและยุโรป), Hatchback 3 ประตู (EP), ซีดาน 4 ประตู (ES) และHatchback 5 ประตู (EU) โดยในประเทศไทยฮอนด้าจะจัดจำหน่ายเฉพาะตัวถังซีดาน 4 ประตูและเพิ่มความหลากหลายของขนาดเครื่องยนต์ โดยมี 5 ขนาด คือ 1.3, 1.5, 1.6, 1.7 และ 2.0 ลิตร และโฉมนี้ มีระบบเกียร์ 5 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ CVT, เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด, เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด โดยในประเทศไทยฮอนด้าจะจำหน่ายเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ 1.7 D17A1 VTEC LEV 122 แรงม้า เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และ 2.0 ลิตร K20A3 i-VTEC 155 แรงม้า เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีดเท่านั้น
โฉมนี้ เป็นโฉมแรก ที่ฮอนด้าได้ทำระบบไฮบริดมาติดกับรถซีวิค เป็นรุ่นพิเศษ โดยได้นำเข้าในประเทศไทย แต่ก็มีคนซื้อไม่มาก ขายไปได้ทั้งหมด 50 คัน ส่วนใหญ่จะเป็นซัพพลายเออร์รายต่างๆ ปัจจุบันยังสามารถพบได้ไม่มากนัก อย่างมากก็ที่สำนักงานใหญ่ Honda Automobile Thailand ย่านบางนา
รุ่นที่ 8 (FA/FD/FG/FK/FN; ค.ศ. 2006–2011)
โฉมนี้ เป็นโฉมล่าสุด เริ่มผลิตตั้งแต่รุ่นปี ค.ศ. 2006 จนถึงรุ่นปีล่าสุดของ ฮอนด้า ซิวิค ที่ฮอนด้ายังผลิตอยู่ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นโฉมนี้ มีตัวถัง 4 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู (FG1–2), Hatchback 3 ประตู (FN1–4), ซีดาน 4 ประตู (FA1–5, เฉพาะอเมริกาเหนือ)/(FD1–7, International model) และ Hatchback 5 ประตู (FK1–3) โดยในประเทศไทยนั้นทางฮอนด้าจะจำหน่ายเฉพาะแบบซีดาน 4 ประตู (รหัสตัวถัง FD)
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ 3 แบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด มีเครื่องยนต์ 7 ขนาด คือ 1.3 ไฮบริด , 1.4, 1.6, 1.8, 2.0, 2.2 และ 2.4 ลิตร แต่ในประเทศไทยมีการจำหน่ายเฉพาะรุ่น 1.8 ลิตร SOHC i-VTEC (R18A) 142 แรงม้า เกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด และ 2.0 ลิตร DOHC i-VTEC (K20Z2) 155 แรงม้า เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด พร้อม paddle shifting
รุ่นที่ 9 (FB/FG/FK; ค.ศ. 2011–2015)
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ 3 แบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด, เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด มีเครื่องยนต์ 7 ขนาด คือ 1.3 ไฮบริด , 1.4, 1.6, 1.8, 2.0, 2.2 และ 2.4 ลิตร แต่ในประเทศไทยมีการจำหน่ายเฉพาะรุ่น 1.8 ลิตร SOHC i-VTEC (R18A) 142 แรงม้า เกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด และ 2.0 ลิตร DOHC i-VTEC (K20Z2) 155 แรงม้า เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด พร้อม paddle shifting
รุ่นที่ 9 (FB/FG/FK; ค.ศ. 2011–2015)
โฉมนี้ ปัจจุบันกำลังอยู่ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าแทนที่โฉมที่ 8 ในหลายประเทศ ซึ่งเดิมทีนั้น ทางฮอนด้าวางแผนจะเปิดตัวตามประเทศต่างๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2011 แต่ด้วยวิกฤตแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทำให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนได้รับความเสียหาย จึงต้องเลื่อนไปก่อน ซีวิคโฉมนี้โดน Consumer Report ในอเมริกา วิจารณ์ ว่าแย่ เนื่องจากใช้วัสดุที่ไม่ค่อยดีและการใส่ออพชั่นที่น้อย
โฉมนี้ มีตัวถัง 2 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู (FG3–4, อเมริกาเหนือ) ซีดาน 4 ประตู (FB1–6) แฮทช์แบ็ก 5 ประตู (FK1/2) และ Station wagon 5 ประตู (FK3; Civic Tourer) โดยในประเทศไทยนั้นทางฮอนด้าจะจำหน่ายเฉพาะแบบซีดาน 4 ประตู (รหัส FB) มีเครื่องยนต์ให้เลือก 7 ขนาด คือ 1.4, 1.5, 1.8, 2.0, 2.2 และ 2.4 ลิตร โดยในประเทศไทยจะมีจำหน่ายเฉพาะรุ่น 1.8 (R18Z1) SOHC i-VTEC 16-valve 141 แรงม้า เกียร์ธรรมดา 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด และ 2.0 ลิตร (R20Z1) SOHC i-VTEC 16-valve 155 แรงม้า เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด เท่านั้น
รุ่นที่ 10 (FC/FK; ค.ศ. 2016-2021)
ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ได้มีการเปิดตัวรถฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ 10 เป็นประเทศที่สองต่อจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ผลิตในโรงงานแห่งใหม่ของฮอนด้าที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นนี้ได้ใช้แพลตฟอร์มใหม่ที่พัฒนามาจากฮอนด้า แอคคอร์ด ทำให้ภายในห้องโดยสารและมิติของตัวถังมีความกว้างขวางกว่ารุ่นที่ผ่านมา
ตัวถังมีการออกแบบเป็นแบบฟาสต์แบ็ก (ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาเทลาดลงไปจนเกือบถึงด้านท้ายสุดของกระโปรงท้าย) ภายนอกมีการออกแบบกระจังหน้าใหม่ที่ลากยาวเชื่อมต่อไปถึงสองฝั่งของไฟหน้า โดยสำหรับรุ่น Turbo RS ได้ใช้ไฟหน้า LED และกระจังหน้าสีดำ ส่วนรุ่น E, EL และ Turbo ไฟหน้าแบบโปรเจกเตอร์และกระจังหน้าโครเมียม ส่วนไฟท้ายมีลักษณะเป็นตัว C มีไฟเลี้ยวแสดงตำแหน่งตรงที่หน้าซุ้มล้อหน้าคล้ายกับเวอร์ชั่นอเมริกาแต่จะเป็นโคมสีขาว
ภายในนั้นมีการปรับปรุงใหม่มากมายซึ่งมีความแตกต่างจากรุ่นที่ 9 มาก รุ่นนี้ได้ใช้หน้าจอมาตรวัดความเร็วเป็นแบบหน้าจอดิจิทัล LCD ขนาด 7 นิ้วแบบใหม่ ซึ่งไม่เป็นแบบสองชั้นแบบรุ่นที่แล้ว และมีหน้าจอเอ็นโฟนเทนเมนต์สัมผัสขนาด 7 นิ้ว ที่สามารถรองรับระบบแอปเปิ้ล คาร์เพลย์ และแอนดรอยด์ ออโต้
รุ่นนี้แบ่งเครื่องยนต์เป็น 2 รุ่น คือ เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร (R18Z1) บล็อกเดิม และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเทอร์โบ (L15B7) ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT ซึ่งทั้งเครื่องยนต์และระบบเกียร์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาภายใต้เทคโนโลยีเอิร์ธดรีม ให้กำลังสูงสุด 173 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุดที่ 220 นิวตันเมตร ที่ 1,700–5,500 รอบต่อนาที ให้กำลังเทียบเท่าเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตร มีอัตราการประหยัดน้ำมันเทียบเท่าเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตร โดยเครื่องยนต์ทั้งสองรุ่นไม่มีเกียร์แบบธรรมดาในประเทศไทยแล้ว
ฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ 10 ในประเทศไทยได้แบ่งออกเป็น 4 รุ่นย่อยคือ 1.8 E, 1.8 EL, 1.5 Turbo และ 1.5 Turbo RS
รุ่นที่ 11 (FE/FL; ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน)
ฮอนด้า ซีวิครุ่นที่สิบเอ็ดได้ถูกเผยโฉมในรูปแบบโปรโตไทป์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ต่อมารูปภาพอย่างเป็นทางการก็ได้เผยโฉมเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 และเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 28 เริ่มวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่อเมริกาเหนือเป็นรุ่นปี 2022 ส่วนรุ่นท้ายลาด (ทำการตลาดในชื่อ "ซีวิค แฮทช์แบ็ก") ได้เปิดตัวตามหลังไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทำการตลาดสำหรับอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น นอกจากนี้ รุ่นสองประตูจะไม่มีการจำหน่ายต่อไปอีกเนื่องจากยอดขายที่ลดลง ซีวิคตัวถังเก๋ง (ซีดาน) รุ่นที่สิบเอ็ดจะไม่มีจำหน่ายในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เนื่องจากยอดขายที่แย่ลงของรุ่นก่อน จึงทำให้แอคคอร์ดเป็นซีดานเพียงรุ่นเดียวที่ฮอนด้าจำหน่ายในตลาดเหล่านั้น
ฮอนด้า ซีวิครุ่นที่สิบเอ็ดได้ถูกเผยโฉมในรูปแบบโปรโตไทป์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ต่อมารูปภาพอย่างเป็นทางการก็ได้เผยโฉมเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 และเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 28 เริ่มวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่อเมริกาเหนือเป็นรุ่นปี 2022 ส่วนรุ่นท้ายลาด (ทำการตลาดในชื่อ "ซีวิค แฮทช์แบ็ก") ได้เปิดตัวตามหลังไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทำการตลาดสำหรับอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น นอกจากนี้ รุ่นสองประตูจะไม่มีการจำหน่ายต่อไปอีกเนื่องจากยอดขายที่ลดลง ซีวิคตัวถังเก๋ง (ซีดาน) รุ่นที่สิบเอ็ดจะไม่มีจำหน่ายในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เนื่องจากยอดขายที่แย่ลงของรุ่นก่อน จึงทำให้แอคคอร์ดเป็นซีดานเพียงรุ่นเดียวที่ฮอนด้าจำหน่ายในตลาดเหล่านั้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น